4 ข้อดีของการถือครองทองคำ

.



1. อัตราผลตอบแทนสูง

ตั้งแต่ วิกฤต ต้มยำกุ้ง ปี1997  จนปัจจุบัน ปี 2020 ราคาทองคำปรับขึ้น ทั้งหมด 555% คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น ราว8% ต่อปี

- วิกฤตเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง 1997 ราคาทองจาก 4000 บาท ขึ้นสูงสุดที่ 7,100 บาท ใช้เวลา 6 เดือน

- วิกฤต แฮมเบอร์เกอร์ 2009 ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 19,500 บาท

- วิกฤต ยูโรโซน 2011  ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 27,130 บาท

- วิกฤต Covid2019 ปี 2020 ราคาทองคำปรับตัวขึ้นสูงสุดที่  30,850 บาท

.




2. ป้องกันความเสี่ยง


Safe heaven asset ทำให้ผลตอบแทนของทองคำ ต่างกับสินทรัพย์ลงทุนชนิดอื่นๆ ทองคำมีลักษณะเป็นsafe heaven asset หมายความทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย จากความเสี่ยงสำคัญหลายๆ อย่างได้แก่ 


1. ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ และธุรกิจ เนื่องจาก ทองคำนั้นไม่ใช่ unit ทางธุรกิจ ที่มีผลกำไรขาดทุนที่เป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของมูลค่า ดังนั้นแม้ว่า ภาวะเศรษฐกิจ และธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงยังไง มูลค่าของทองคำจะไม่มีความเสี่ยงด้านต้นทุน การตลาดและการเงิน


2. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ทองคำนั้นมีตลาดซื้อขายสากลในระดับโลกอยู่ทั่วภูมิภาคของโลก ตลอด 24 ชม. และได้รับการยอมรับในการเป็นอัตราแลกเปลี่ยนทั่วพื้นที่ในทุกประเทศของโลก ทองคำจึงเป็นสินทรัพย์ชนิดเดียวในโลกที่มี จำนวนตลาดซื้อขายมากที่สุดในโลก แต่อาจขาดสภาพคล่องระยะสั้นได้เพราะต้องส่งมอบด้วยของจริง ต่างกับเงินซึ่งผลิตจำนวนได้ไม่จำกัดหากขาดแคลน


3. ความเสี่ยงด้าน  dilution effect  ทองคำในโลกนั้นมีจำนวนจำกัดและแน่นอนทำให้ อุปทานของทองคำมีลักษณะใกล้เคียงแบบ stable supply เพราะทุกวันใน อนาคตทองคำ มีซึ่งเท่าเดิม แต่ความต้องการมีมากขึ้นจากขนาด เศรษฐกิจโลกที่จะขยายตัวเพิ่มหลายเท่าจากเทคโนโลยี 5G


4. ทองคำนั้นเป็น Real exchange คือเป็นเงินที่ซื้อขายของอยู่จริง ทำให้ได้รับความเชื่อถือมาก เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนชนิดอื่นๆ เป็นสาเหตุให้ทองคำถูกใช้เป็นทุนสำรองทั่วโลก


5. ความเสี่ยงเรื่องการสิ้นค่า เปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆ เช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ จะหมดค่าเมื่อไม่มีประเทศสหรัฐอเมริกา  เงินหยวนจะหมดค่าเมื่อไม่มีประเทศจีน  น้ำมันจะหมดค่าเมื่อเมื่อพลังงานทดแทนกลายเป็นพลังงานหลัก เช่น พลังแสงอาทิตย์ พลังงานลม  แต่ทองคำนั้นจะหมดค่าเมื่อ ไม่มีระบบเศรษฐกิจ หรือไม่มีการค้าขายเกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ชาติด้วยกันแล้วนั่นเอง


เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรรู้ไว้เลยว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงได้ดีเป็นอันดับหนึ่งตอนนี้

.



3. การกระจาย หรือถัวความเสี่ยง


ราคาน้ำมัน ค่าเงิน(ดอลล่าร์)และดัชนีตลาดหุ้น มีความสัมพันธ์ทางปัจจัยพื้นฐานกับราคาทองคำ  ในทางตรงข้าม กันทองคำจึงเหมาะกับแนวคิดการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตทรัพย์สิน

  

ราคาน้ำมัน - ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ราคาน้ำมัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็คือ การความต้องการน้ำมันในภาคการผลิต โลจิสติกส์ ผลิตไฟฟ้า และการบริโภคดังนั้นการปรับตัวของราคาน้ำมันจึงขึ้นอยู่กับความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยตรง เวลาเศรษฐกิจโลกดีความต้องการน้ำมันมาก ทำให้ราคาน้ำมันขึ้น กลับกันเวลาเศรษฐกิจโลกไม่ดีราคาน้ำมันจะลง   ด้วยลักษณะเช่นนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองกับน้ำมันจึงตรงข้ามกันในเรื่องปัจจัยพื้นฐานที่ราคาทองคำ จะปรับขึ้นในช่วง เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ซึ่งตรงข้ามกับราคาน้ำมันที่จะขึ้นตอนเศรษฐกิจโลกดี มีความต้องการใช้นำ้มันสูง


ค่าเงิน(ดอลล่าร์สหรัฐ) -  ที่ยกตัวอย่างค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐเพราะว่าเป็นเงินที่มีการใช้อย่างกว้างมากที่สุดในโลก เนื่องจาก สหรัฐเป็นประเทศที่มี ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในโลก ทำให้เงินดอลล่าร์สหรัฐมีอิทธิพลต่อการวัดมูลค่าของสินทรัพย์สูงที่สุดในโลก ดังนั้นเมื่อเงินค่าเงินดอลล่าร์(หมายถึงตระเงินดอลล่าร์ Dollar index ) มีการแข็งค่าสกุลเงิน และสินทรัพย์ต่างๆทั่วโลกจึงลดค่าลง ในทางกลับกันเมื่อค่าเงินดอลล่าร์อ่อนค่า สินทรัพย์ต่างๆทั่วโลกจึงมีมูลค่าปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ และทองคำก็เช่นกันครับ


ดัชนีตลาดหุ้น - ตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดทุนเป็นแหล่งรวมของความหลาก หลายในการลงทุนเนื่องจากบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นเต็มไปด้วยกิจการต่างๆ ธุรกิจต่างๆ ที่แตกต่างกัน และบริษัทเหล่านี้ ก็มีการถือครองทรัพย์สินที่ต่างกันด้วย อย่างไรก็ดีการขึ้นลงของดัชนีตลาดหุ้น มักขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของตลาดซึ่งจะเกิดผลประกอบการที่ดี ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นดัชนีตลาดหุ้นจึงมีการปรับตัวขึ้นสูงและช่วงเศรษฐกิจตกต่ำจะปรับตัวลง ด้วยปัจจัยพื้นฐานนี้ทำให้ราคาทองคำกับดัชนีราคาหุ้นมักมีแนวโน้มที่วิ่งสวนทางกันเป็นส่วนใหญ่

.



4. การใช้เป็นหลักประกันทางการเงิน


ทองคำใช้เป็นหลักประกันได้แน่นอน  จากการที่ประเทศชั้นนำได้ถือไว้เป็นทุนสำรองจำนวนมาก

- สหรัฐ : 8,133.5 ตัน

- เยอรมนี  : 3,378.2  ตัน

- IMF : 2,814.0 ตัน

- อิตาลี : 2,451.8 ตัน

- ฝรั่งเศส : 2,435.8 ตัน

- จีน : 1,823.3 ตัน

- รัสเซีย : 1,498.7 ตัน

- สวิตเซอร์แลนด์ : 1,040.0 ตัน

- ญี่ปุ่น : 765.2 ตัน

- เนเธอร์แลนด์ : 612.5 ตัน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาที่ท่านอาจสนใจ เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราผ่านทาง "นโยบายคุกกี้" และ "นโยบายความเป็นส่วนตัว"